แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
3 รหัสวิชา ว22101 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
โรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
สาระที่
3 หน่วยที่ 4 เรื่อง การสกัดด้วยตัวทำละลาย เวลา 2.00 ชั่วโมง
…………………………………………………………………………………………………….
มาตรฐาน
ว 3.1 เข้าใจสมบัติของสาร
ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์
สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด
1. ทดลองและอธิบายการหลักการแยกสารด้วยวิธีการกรอง การตกผลึก การสกัด
การกลั่น และ
โครมาโทกราฟี และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ (ว 3.1-3)
โครมาโทกราฟี และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ (ว 3.1-3)
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายหลักการแยกสารโดยวิธีการสกัดด้วยตัวทำละลาย การสกัดโดยวิธีการกลั่นด้วยไอน้ำ
2. ออกแบบวิธีสกัดสารโดยการสกัดด้วยตัวทำละลายโดยเลือกใช้ตัวทำละลายที่เหมาะสม
3. ยกตัวอย่างการแยกสารโดยการสกัดด้วยตัวทำละลายที่พบในชีวิตประจำวันและในอุตสาหกรรม
- การแยกสาร :: การสกัดด้วยตัวทำละลาย
การจัดกระบวนการเรียนรู้
1. ขั้นนำ
1. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
2. ครูและผู้เรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากสารที่มีสี กลิ่น รสชาติ ที่มีอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของพืช และรวมอยู่เป็นเนื้อเดียวกับส่วนต่าง ๆ ของพืช มีสารใดบ้าง ได้จากพืชชนิดใด เราจะมีวิธีแยกสารเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร ในชีวิตประจำวัน ใครเคยแยกสารที่มีกลิ่นหอมจากส่วนต่าง ๆ ของพืชบ้าง ทำได้อย่างไร
2.
ขั้นสอน
1.
ครูให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 4-5 กลุ่มๆ ละ 4-5 คนและทำกิจกรรม7.2 จะแยกสารจากส่วนต่าง ๆ ของพืชได้อย่างไร
กิจกรรม 7.2 จะแยกสารจากส่วนต่าง ๆ ของพืชได้อย่างไร
จุดประสงค์ของกิจกรรม
1. อธิบายการแยกสารโดยวิธีการสกัดด้วยตัวทำละลาย
2. เลือกใช้ตัวทำละลายที่เหมาะสมในการสกัดสารจากส่วนต่าง ๆ ของพืช
3. เสนอแนะการใช้ประโยชน์จากสารที่สกัดได้จากส่วนต่าง ๆ ของพืช
4. ยกตัวอย่างการแยกสารโดยการสกัดด้วยตัวทำละลายที่พบในชีวิตประจำวัน
เวลาที่ใช้ 80 นาที
อภิปรายก่อนกิจกรรม 15
นาที
ทำกิจกรรม 40
นาที
อภิปรายหลังกิจกรรม 25 นาที
วัสดุอุปกรณ์และสารเคมี
รายการ
|
ปริมาณต่อ
10 กลุ่ม
|
1. ขมิ้นหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ (หรือพืชอื่น ๆ ที่มีในท้องถิ่น)*
2. เส้นใยฝ้าย หรือเส้นใยจากพืชอื่น ๆ
3. เอทานอล
4. น้ำกลั่น
5. ขวดรูปกรวยขนาด 100 cm3 พร้อมจุกปิดปากขวดหรือหลอดทดลองขนาดใหญ่พร้อมจุกปิด)
6. บีกเกอร์ ขนาด
250 cm3
7. กรวยแก้วหรือกรวยพลาสติก
8. ถ้วยระเหย
9. ตะเกียงแอลกอฮอล์พร้อมที่กั้นลม และตะแกรงลวด
10. กระดาษกรอง
11. กระบอกตวงขนาด 10 cm3
12. เครื่องชั่ง
|
50
cm3
100
cm3
20
ชุด
20
ใบ
10
ชุด
20
ใบ
10
ชุด
10
แผ่น
10
ใบ
1
– 2 เครื่อง
|
* อาจเลือกใช้พืชอื่น ๆ ที่มีในท้องถิ่น เช่น ขิงแก่ ใบเตย ตะไคร้หอม ดอกกระเจี๊ยบ เป็นต้น
การเตรียมล่วงหน้า
ให้เตรียมพืชในท้องถิ่นที่สนใจจะสกัดสารมากลุ่มละ 1 – 2 ชนิด
2. ครูอภิปรายก่อนทำกิจกรรมที่ 7.2
ตอนที่ 1 ขมิ้นที่จะใช้ ควรหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อให้การสกัดได้ผลดี โดยใช้น้ำสกัด เปรียบเทียบกับที่ใช้แอลกอฮอล์สกัดว่าตัวทำละลายชนิดใดจะสกัดสีจากขมิ้นได้ดีกว่ากัน
ตอนที่ 2 ผู้เรียนนำพืชที่สนใจจะศึกษามากลุ่มละ 1 ชนิด แล้วอภิปรายร่วมกันว่า ถ้าจะแยกสารที่มีสีหรือกลิ่นจากส่วนต่าง ๆ ของพืช จะใช้วิธีการแบบเดียวกับตอนที่ 1 ได้หรือไม่ พืชที่ผู้เรียนนำมาซึ่งมีในท้องถิ่นอาจเป็นตะไคร้หอม ใบเตย ขิง ดอกอัญชัน แก่นขนุน ดอกกระเจี๊ยบแดง ลำไยแห้ง ข่า มะตูม ผิวมะกรูด ผิวมะนาว กระชายดำ เป็นต้น ให้แต่ละกลุ่มระดมความคิดกันเพื่อกำหนดว่าจะใช้ส่วนใดของพืช ใช้ปริมาณเท่าไร ใช้สารใดเป็นตัวทำละลาย และใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง ฯลฯ
ตัวอย่างผลการทำกิจกรรม ตอนที่ 1
ตัวทำละลาย
สารตัวอย่าง
|
ผลที่สังเกตได้เมื่อใช้น้ำ
|
ผลที่สังเกตได้เมื่อใช้เอทานอล
|
||
ของเหลวที่ได้
|
เมื่อนำไประเหยแห้ง
|
ของเหลวที่ได้
|
เมื่อนำไประเหยแห้ง
|
|
ขมิ้น
|
มีสีเหลืองเข้ม
มีกลิ่นขมิ้นเล็ก
น้อย
|
มีสารสีเหลืองเป็น
ผง จำนวนมาก
|
มีสีเหลืองอ่อน
มีกลิ่นขมิ้น
|
มีสารสีเหลืองจำนวนน้อย และมีของเหลวเป็นน้ำมันข้นเหลวอยู่เล็กน้อย
|
3. ครูให้ผู้เรียนอภิปรายผลหลังการทำกิจกรรมร่วมกันภายในกลุ่มโดยใช้คำถามท้ายกิจกรรมเป็นแนวทางจนได้ข้อสรุปว่า
• สามารถสกัดสารที่มีสีหรือสารที่มีกลิ่นจากขมิ้นได้ด้วยตัวทำละลายต่าง ๆ
• ปริมาณสารที่สกัดได้ขึ้นอยู่กับปริมาณของพืชที่ใช้และปริมาณของตัวทำละลาย
• ถ้าใช้ตัวทำละลายต่างชนิดกัน จะสกัดสารได้ต่างกัน
-ตัวทำละลายต่างชนิดกันใช้สกัดสารได้ต่างกัน คือ น้ำสามารถสกัดสีจากขมิ้นได้ดีกว่าเอทานอล
-ถ้าผสมน้ำและเอทานอลเข้าด้วยกัน สารที่สกัดได้ จะมีทั้งสีและกลิ่นรวมอยู่ด้วยกัน
-การหั่นขมิ้นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ทำให้สกัดสารได้ดี ได้สารสีเหลือง หรือกลิ่นหอมออกมาขึ้น
- สารที่สกัดได้จากขมิ้น สามารถนำไปใช้ประโยชน์ เช่น ทำเครื่องสำอาง ผสมในอาหาร เช่น ข้าวหมกไก่ ไก่ย่าง ปลาทอดขมิ้น แกงเหลือง เป็นต้น ส่วนกลิ่นอาจนำไปผสมในน้ำมันหม่องสมุนไพร
ตัวอย่างผลการทำกิจกรรม ตอนที่ 2
ตัวทำละลาย
สารตัวอย่าง
|
ผลที่สังเกตได้เมื่อใช้น้ำ
|
ผลที่สังเกตได้เมื่อใช้เอทานอล
|
||
ของเหลวที่ได้
|
เมื่อนำไประเหยแห้ง
|
ของเหลวที่ได้
|
เมื่อนำไประเหยแห้ง
|
|
ขิงแก่
|
ของเหลวสีขาว
ขุ่น
มีกลิ่นขิง
|
ได้สารสีเหลืองอ่อนเล็กน้อย(เป็นผง)
|
ของเหลวสีเหลืองมีกลิ่นขิงปนกลิ่นเอทานอล
|
ได้สารสีเหลืองเป็นผงจำนวนมาก
|
ใบเตย
|
ของเหลวสีเขียว
อ่อน
มีกลิ่น
หอมใบเตย
|
ได้สารสีเขียวเป็นผงจำนวนเล็กน้อย
|
ของเหลวสีเขียว
มีกลิ่นหอมปน
กลิ่นเอทานอล
|
ได้สารสีเขียวเป็นผงจำนวนมาก
|
ตะไคร้หอม
|
ของเหลวสีขาว
ขุ่น
แยกเป็น 2 ชั้นมีกลิ่นเฉพาะ ตัว
|
ได้ของเหลวใส
มีกลิ่นตะไคร้
|
ของเหลวสีเหลืองอ่อน
|
ได้ของเหลวใสสีเหลืองอ่อน
มีกลิ่นตะไคร้
|
ดอกกระเจี๊ยบ
|
ของเหลวสีแดง
|
ได้สารสีแดงเป็นผง
|
ของเหลวสีแดง
|
ได้สารสีแดงเป็นผง
|
4. ครูให้ผู้เรียนอภิปรายผลหลังการทำกิจกรรมในแต่ละกลุ่ม แล้วนำเสนอผลในชั้นเรียน และใช้คำถามท้ายกิจกรรมเป็นแนวทางในการอภิปราย จนได้ข้อสรุปว่า
• สามารถสกัดสารจากส่วนต่าง ๆ ของพืชได้ โดยอาศัยหลักการเกี่ยวกับการละลายของสารในตัวทำละลาย
• ชนิดและปริมาณสารที่สกัดได้ ขึ้นอยู่กับชนิด ปริมาณ และส่วนต่าง ๆ ของพืชที่นำมาใช้ รวมทั้งชนิดและปริมาณของตัวทำละลาย
• สารที่สกัดได้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย
- ในแต่ละท้องถิ่นอาจมีการสกัดสารด้วยตัวทำละลายจากพืชต่าง ๆ เช่น ใบเตย ดอกมะลิ ตะไคร้หอม ดอกกระเจี๊ยบ กระชายดำ ข่า ขิง แก่นขนุน ใบหูกวาง ใบสะระแหน่ ไพล พริก ส่วนใหญ่ใช้น้ำเป็นตัวทำละลายในการสกัดบางชนิดใช้น้ำเย็น เช่น สกัดสีจากใบเตย กลิ่นหอมจากดอกมะลิ สีจากดอกอัญชัน บางชนิดสกัดด้วยน้ำร้อน เช่น สีจากดอกกระเจี๊ยบ กลิ่นหอมจากตะไคร้หอม สีจากแก่นขนุน ใบหูกวาง บางชนิดใช้เอทานอลสกัด เช่น ยาดองเหล้าสมุนไพร ไวน์กระชายดำ การใช้ประโยชน์จากสารที่สกัดได้ เช่น
• นำสีที่สกัดได้จากแก่นขนุน มาย้อมเส้นใย หรือผ้าฝ้ายให้เป็นลวดลาย ใช้ตกแต่งอุปกรณ์ เครื่องใช้
• นำสีและกลิ่นหอมที่สกัดได้จากใบเตย ดอกมะลิ ดอกอัญชัน ดอกกระเจี๊ยบ ดอกกระดังงา ใช้ผสมทำอาหารคาว หวาน
• นำน้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้จาก ขิง ข่า ไพล พริก ใบสะระแหน่ มาทำยาหม่อง
• นำสารที่มีสรรพคุณในการรักษาโรคที่สกัดได้จากส่วนต่าง ๆของพืช มาทำยาลูกกลอน หรือระเหยแห้งแล้วบรรจุแคปซูล
5. ครูให้ข้อเสนอแนะว่า
อาจนำความรู้เกี่ยวกับการสกัดสารไปใช้ประโยชน์ เช่น นำสีไปย้อมเส้นใยฝ้าย ผักตบชวา ผสมในแชมพู สบู่ อาหาร นำน้ำมันหอมระเหยไปผสมในยาหม่อง ยาดม ลูกอมสมุนไพร และจัดแสดงผลงาน
6. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับ
การใช้ตัวทำละลายสกัดสารออกจากส่วนต่าง ๆ ของพืช ตามรายละเอียดในบทเรียน รวมทั้งอภิปรายร่วมกันถึงวิธีการสกัดสารจากธรรมชาติ โดยใช้ไอน้ำร้อนจากการหุงต้ม ซึ่งเรียกวิธีการสกัดแบบนี้ว่า การสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ
และกล่าวว่า น้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้จากส่วนต่าง ๆ ของพืช สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ดังนี้
- กลิ่นหอมจากดอกไม้ ใบเตย ใช้ทำหัวน้ำหอม ผสมในอาหาร ทำให้มีกลิ่นหอม ผสมทำธูปหอม เทียนหอม
- น้ำมันหอมระเหยจากขิง ข่า กระชาย ไพล พริก ใบสะระแหน่ (เมนทอล) ใช้ผสมทำยาดม ยาหม่อง ยาอม
7. ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนสอบถามเนื้อหา
เรื่อง การสกัดด้วยตัวทำละลาย ว่ามีส่วนไหนที่ไม่เข้าใจและให้ความรู้เพิ่มเติมในส่วนนั้น
3.
ขั้นสรุป
1. ครูมอบหมายให้นักเรียนสรุปความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเนื้อหาที่ได้เรียนในวันนี้
แล้วร่วมกันสรุปความรู้ เรื่อง การสกัดด้วยตัวทำละลาย ตามรายละเอียดในใบความรู้
2. นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน
3. ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาความรู้
เรื่อง การกลั่น ซึ่งจะเรียนในคาบต่อไปมาล่วงหน้า
สื่อการเรียนการสอน
1. แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน จำนวน 5 ข้อ
2. ใบความรู้ที่ 32
เรื่อง การแยกสาร :: การสกัดด้วยตัวทำละลาย
3. ใบงานที่
31 เรื่อง การแยกสาร :: การสกัดด้วยตัวทำละลาย
4. อุปกรณ์และสารเคมีที่ใช้ในการศึกษาทดลอง
การวัดผลประเมินผล
การวัดผลประเมินผลด้าน
|
วิธีการวัด
|
เครื่องมือวัด
|
เกณฑ์การผ่าน
|
1. ด้านความรู้ความเข้าใจ
|
1.วัดจากแบบทดสอบก่อน-หลังเรียน
|
1. แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน
|
1. ตอบคำถามถูกมากกว่าหรือเท่ากับ
60% ข้อขึ้น
|
2.วัดจากการตอบคำถามตามใบงานที่
31
|
2.ใบงานที่
31
|
2. ตอบคำถามถูกมากกว่าหรือ
เท่ากับ 60%ขึ้นไป
|
|
2. ด้านทักษะกระบวนการ
|
ประเมินจากทักษะการปฏิบัติการ
|
แบบประเมินด้านทักษะ(การทดลอง)
|
ได้คะแนนในระดับ 2 ขึ้นไป
|
3. ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์
|
การสังเกตพฤติกรรมความสนใจ และตั้งใจเรียน
|
แบบสังเกตพฤติกรรมความสนใจและตั้งใจเรียน
|
ได้คะแนนในระดับ 2 ขึ้นไป
|
กิจกรรมเสนอแนะ
.........................................................................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................................................................
ใบความรู้ที่
32
เรื่อง การแยกสาร :: การสกัดด้วยตัวทำละลาย
1. การสกัดด้วยตัวทำละลาย
( Solvent Extraction)
การสกัดด้วยตัวทำละลายเป็นเทคนิคการแยกสารที่ใช้กันมากอีกอย่างหนึ่ง ใช้แยกของผสมเนื้อเดียวที่เป็นทั้งของแข็ง - ของแข็ง
หรือ ของเหลว - ของเหลว ออกจากกันได้ ทั้งนี้อาศัยสมบัติของการละลายของสารแต่ละชนิด
หลักการสำคัญ เนื่องจากการสกัดด้วยตัวทำละลาย
อาศัยการละลายของสารเป็นส่วนใหญ่
ดังนั้นหลักการสำคัญจึงขึ้นอยู่กับการเลือกตัวทำละลายที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถสกัดสารที่ต้องการได้มาก ๆ
ทั้งนี้เพราะสารแต่ละชนิดมักจะละลายในตัวทำละลายต่างชนิดได้ในปริมาณที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น
ในขิงจะมีทั้งสารที่มีสีและสารที่มีกลิ่น
ซึ่งสารที่มีสีละลายในเอธานอลได้ดีกว่าในน้ำ
ในขณะที่สารที่มีกลิ่นละลายในน้ำได้ดีกว่าในเอธานอล ดังนั้นถ้าต้องการสกัดสารที่มีสีจากขิง ควรใช้เอธานอลเป็นตัวทำละลาย และถ้าต้องการสกัดสารที่มีกลิ่น
ควรใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย เป็นต้น
โดยทั่ว ๆ ไป ตัวทำละลายที่เหมาะสมสำหรับการสกัด ควรมีสมบัติดังนี้
1. ต้องละลายสารที่ต้องการจะแยกได้เป็นอย่างดี
2. ไม่ละลายสิ่งเจือปนหรือสารอื่น
ๆ ที่ไม่ต้องการ (หรือละลายได้น้อยมาก)
3. ไม่ทำปฏิกิริยากับสารที่ต้องการสกัด
4. ไม่ละลายเป็นเนื้อเดียวกันกับสารละลายของของผสม
5. ควรจะแยกออกจากสารละลายได้ง่าย สามารถทำให้บริสุทธิ์ได้ง่าย เพื่อจะได้นำกลับไปใช้ใหม่ได้อีก
6. ควรจะมีราคาถูก และหาง่าย
ตัวทำละลายที่ใช้กันมากได้แก่
น้ำ อีเธอร์ คลอโรฟอร์ม
เบนซิน ปิโตรเลียมอีเธอร์ คาร์บอนเต-ตระคลอไรด์
และอะซิโตน เป็นต้น
การสกัดด้วยตัวทำละลายนั้น
นอกจากจะนำสารที่ต้องการสกัดแช่ในตัวทำละลายที่เหมาะสม วางทิ้งไว้เป็นเวลาพอสมควร เขย่าของผสมเป็นครั้งคราวแล้ว อาจจะสกัดด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า “ซอกซ์เลต Soxhlet” ซึ่งเครื่องมือชนิดนี้สามารถสกัดสารได้โดยใช้ตัวทำละลายปริมาณน้อย
ลักษณะของการสกัดจะเป็นแบบใช้ตัวทำละลายหมุนเวียนผ่านสารที่ต้องการสกัดหลาย
ๆ ครั้ง ต่อเนื่องกันไป จนกระทั่งสกัดสารที่ต้องการออกมาได้มากเพียงพอ
รูปที่ 1 ตัวอย่างของซอกซ์เลต
การสกัดด้วยตัวทำละลายใช้กันมากในด้านอินทรีย์เคมี ใช้แยกผลิตภัณฑ์ที่ผสมกันอยู่ตามธรรมชาติ
และเป็นวิธีที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรม เช่น การสกัดน้ำมันพืชจากงา รำข้าว
ข้าวโพด เมล็ดนุ่น ถั่วลิสง
ถัวเหลือง เมล็ดบัว เมล็ดทานตะวัน และปาล์ม เป็นต้น
โดยใช้เฮกเซนเป็นตัวทำละลาย
เมื่อใช้เฮกเซนสกัดน้ำมันออกจากพืชแล้ว
ต้องกรองแยกเอาสารละลายที่ได้ไปกลั่นเพื่อแยกเฮกเซนออก
หลังจากนั้นจึงนำน้ำมันพืชที่ได้ไปผ่านกระบวนการต่าง ๆ เพื่อกำจัด สี กลิ่น
และสารพิษออก จนได้น้ำมันพืชที่บริสุทธิ์
· ในกรณีที่ของผสมนั้นเป็นของแข็งกับของแข็ง
ต้องเลือกตัวทำละลายที่ละลายของแข็งได้เพียงชนิดเดียว
เมื่อกรองสารที่ไม่ละลายออกไป
ให้นำสารละลายไปตกผลึกจะได้ของแข็งที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น
ของผสมระหว่าง เกลือแกง( NaCl) กับ หินปูน ( CaCO3 ) เลือกใช้น้ำเป็นตัวทำละลายเพราะ NaCl
ละลายน้ำ แต่ CaCO3 ไม่ละลายน้ำ เมื่อกรองแยก CaCO3 ออกแล้วนำสารละลายไปตกผลึก
จะได้ NaCl ตัวอย่างอื่น ๆ เช่น ใช้เฮกเซนแยกของผสมระหว่างแนฟทาลีนกับเกลือแกง
หรือใช้น้ำแยกของผสมระหว่างแนพทาลีนกับเกลือแกง
เป็นต้น
· ในกรณีที่ของผสมเป็นของเหลวกับของเหลว
หรือเป็นสารละลายเนื้อเดียว ให้สกัดด้วยตัวทำละลายในกรวยแยก โดยนำสารละลายใส่ลงในกรวยแยก แล้วเติมตัวทำละลายที่เหมาะสมลงไป เขย่าสารละลายในกรวยแยก
จนตัวทำละลายสกัดสารได้ตามต้องการแล้วปล่อยให้สารละลายแยกเป็น 2 ชั้น
แล้วไขสารละลายออกมาเฉพาะส่วนที่มีสารที่ต้องการ ให้นำไปกลั่นแยกตัวทำละลายออกไป จะได้ของเหลวตามที่ต้องการ
ปกติการสกัดด้วยตัวทำละลายถ้าใช้ตัวทำละลายครั้งละน้อย ๆ แต่หลาย ๆ ครั้ง
จะสกัดสารได้ดีกว่าการใช้ตัวทำละลายมาก ๆ แล้วสกัดสารครั้งเดียว ตัวอย่างเช่น
ต้องการแยกของผสมระหว่างเบนซีนกับเอธานอล
ใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย เนื่องจากน้ำละลายเอธานอลได้ แต่ไม่ละลายเบนซีน
ทำให้สารละลายแยกเป็น 2 ชั้น ชั้นบนเป็นเบนซีน ส่วนชั้นล่างเป็นเอธานอลในน้ำ หลังจากแยกสารละลายทั้ง 2
ชั้นออกจากกันแล้ว นำสารละลายชั้นน้ำ
ไปทำให้ได้เอธานอลที่บริสุทธิ์ต่อไปโดยการกลั่น เป็นต้น
2. การสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ (Steam
distillation)
การกลั่นด้วยไอน้ำเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งของการสกัดด้วยตัวทำละลาย
โดยใช้ไอน้ำเป็นตัวทำละลาย ละลายสารและพาสารที่ต้องการออกจากของผสมได้
ส่วนใหญ่การกลั่นด้วยออกจากส่วนต่าง ๆ ของพืชที่อยู่ตามธรรมชาติ เช่น
การสกัดน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ ใบมะกรูดเป็นต้น
หลักการที่สำคัญ
การสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำอาศัยหลักการที่ว่า “สารที่ต้องการสกัดจะต้องระเหยได้ง่าย
สามารถให้ไอน้ำพาออกมาจากของผสมได้
และสารที่สกัดได้จะต้องไม่รวมเป็นเนื้อเดียวกับน้ำหรือไม่ละลายน้ำนั่นเอง” (ถ้าของเหลวที่กลั่นได้ละลายน้ำ
หรือรวมเป็นเนื้อเดียวกันกับน้ำจะต้องนำไปกลั่นแยกอีกครั้งหนึ่ง)
หลังจากที่สกัดด้วยไอน้ำแยกออกมาจากของผสมแล้ว ของเหลวจะแยกเป็น 2 ชั้น ชั้นหนึ่งเป็นน้ำ
อีกชั้นหนึ่งเป็นสารที่ต้องการ ซึ่งสามารถใช้กรวยแยก แยกออกจากกันได้
เนื่องจากสารที่ต้องการสกัดจะต้องระเหยออกมาเป็นไอพร้อมกับไอน้ำ
และไม่ละลายน้ำ
ดังนั้นการสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ จึงเหมาะสมที่จะใช้แยกสารที่ระเหยง่าย
และไม่ละลายน้ำ ออกจากสารที่ระเหยหรือกลายเป็นไอได้ยาก
โดยเฉพาะสารที่มีลักษณะเป็นยางเหนียว
การกลั่นด้วยไอน้ำอาจจะทำได้ 2 วิธี คือ การกลั่นด้วยไอน้ำโดยตรง และทางอ้อม
ก. การกลั่นโดยตรง โดยให้น้ำและสารที่ต้องการจะสกัดอยู่ในภาชนะเดียวกัน เมื่อให้ความร้อนแก่น้ำจนกลายเป็นไอ ไอน้ำจะสกัดสารที่ต้องการออกมา
ข. การกลั่นโดยทางอ้อม วิธีนี้น้ำและสารที่ต้องการสกัดจะอยู่ต่างภาชนะกัน ในตอนแรกต้องต้มน้ำให้กลายเป็นไอก่อน
แล้วจึงผ่านไอน้ำเข้าไปในสารที่ต้องการสกัด ให้ไอน้ำพาสารที่ต้องการสกัดออกมา วิธีนี้เป็นที่นิยมมากกว่า
เพราะสามารถป้องกันการเดือดอย่างรุนแรงของสารละลายได้
รูปที่ 3 เครื่องมือแสดงการสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ
(กลั่นโดยทางอ้อม)
รูปที่ 4 การแยกของเหลวด้วยกรวยแยก
หมายเหตุ กรวยแยกเหมาะสำหรับแยกของเหลวที่ไม่รวมเป็นเนื้อเดียวกัน หรือที่แยกเป็น 2
ชั้นออกจากกัน
เช่น
เมื่อสกัดน้ำมันหอมระเหยออกจากผิวมะกรูดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ
จะได้ของเหลวแยกเป็น 2 ชั้น กรณีน้ำกับน้ำมันที่แยกเป็น 2
ชั้น
สามารถไขของเหลวส่วนล่าวออกมา ทำให้แยกสารออกจากกันได้
การสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำส่วนใหญ่จะใช้สกัดสารอินทรีย์ที่ระเหยง่ายจากส่วนต่าง
ๆ ของพืช เช่น การสกัดน้ำมันหอมระเหยจากใบยูคาลิปตัส จากดอกกุหลาบ
จากไม้จันทร์ และจากผิวมะกรูด เป็นต้น ในการสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำนี้
ไอน้ำจะช่วยทำให้น้ำมันหอมระเหยกลายเป็นไอแยกตัวออกมาพร้อมกับไอน้ำ
เมื่อทำให้ควบแน่นจะได้ของเหลวที่มีทั้งน้ำและน้ำมันหอมระเหยปนกันอยู่
แต่เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยไม่ละลายน้ำ
จึงแยกเป็น 2 ชั้นอย่างชัดเจน
ทำให้สามารถใช้กรวยแยกแยกน้ำมันหอมระเหยจากน้ำได้ง่าย
ตารางที่
1 ตัวอย่างของส่วนต่าง ๆ
ของพืชที่ใช้สกัดน้ำมันหอมระเหย
ตัวอย่างพืช
|
ส่วนต่าง
ๆที่ใช้สกัดน้ำมันหอมระเหย
|
ตะไคร้ ตะไคร้หอม
ยูคาลิปตัส กระเพรา
โหระพา
กุหลาบมอญ มะลิ
กระดังงา
การเวก
จำปา
จำปูน สารภี
จันทร์เทศ
มะกรูด มะนาว
ส้ม
กระวาน กานพลู
จันทร์ สน
กฤษณา
อบเชย สีเสียด
ขิง ข่า
ไพล
|
กาบใบ
ใบ
ดอก
ดอก
ผล
เปลือกของผล
เมล็ด
เนื้อไม้
เปลือกไม้
เหง้า
|
ใบงานที่ 31
เรื่อง การแยกสาร :: การสกัดด้วยตัวทำละลาย
คำชี้แจง จงตอบคำถามหรือเติมช่องว่างด้วยคำหรือข้อความสั้นๆ
1. ตัวทำละลายต่างชนิดกันใช้สกัดสารได้เหมือนกันหรือไม่
อย่างไร
ตอบ ................................................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
2. ถ้าผสมน้ำและเอทานอลเข้าด้วยกัน
ผลการสกัดจะเป็นอย่างไร
ตอบ ................................................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
3. การหั่นขมิ้นเป็นชิ้นเล็กๆ มีผลต่อการสกัดหรือไม่
อย่างไร
ตอบ ................................................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
4. จะนำสารที่สกัดได้ไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง
ตอบ ................................................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
5. ในท้องถิ่นของเรามีการสกัดสารชนิดใดจากพืชบ้าง
การสกัดสารแต่ละชนิดใช้วิธีการแตกต่างกันอย่างไร
และมีการใช้ประโยชน์จากสารที่สกัดได้อย่างไรบ้าง
ตอบ ................................................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
เฉลยใบงานที่ 31
เรื่อง การแยกสาร :: การสกัดด้วยตัวทำละลาย
1.
ตัวทําละลายตางชนิดกันใชสกัดสารไดตางกัน
คือ นํ้าสามารถสกัดสีจากขมิ้นไดดีกว่าเอทานอล
2.
ถาผสมนํ้ าและเอทานอลเขาดวยกัน
สารที่สกัดได จะมีทั้งสีและกลิ่นรวมอยูดวยกัน
3.
การหั่นขมิ้นเปนชิ้นเล็ก ๆ ทํ าใหสกัดสารไดดี
ไดสารสีเหลือง หรือกลิ่นหอมออกมากขึ้น
4.
สารที่สกัดไดจากขมิ้น สามารถนํ าไปใชประโยชน
เชน ทํ าเครื่องสํ าอาง ผสมในอาหาร เชน
ขาวหมกไก
ไกยาง
ปลาทอดขมิ้น แกงเหลือง เปนตน
สวนกลิ่นอาจนํ าไปผสมในนํ้ ามันหมองสมุนไพร
5. ในแตละทองถิ่นอาจมีการสกัดสารดวยตัวทํ
าละลายจากพืชตาง ๆ เชน
ใบเตย ดอกมะลิ ตะไครหอม
ดอกกระเจี๊ยบ กระชายดํ า ขา ขิง แกนขนุน
ใบหูกวาง ใบสะระแหน ไพล พริก สวนใหญใชนํ้
าเปนตัวทําละลายในการสกัด บางชนิดใชนํ้
าเย็น เชน สกัดสีจากใบเตย กลิ่นหอมจากดอกมะลิ
สีจากดอกอัญชัน บางชนิดสกัดดวยนํ้ ารอน
เชน สีจากดอกกระเจี๊ยบ กลิ่นหอมจากตะไครหอม
สีจากแกนขนุน ใบหูกวาง บางชนิดใชเอทานอลสกัด
เชน ยาดองเหลาสมุนไพร
ไวนกระชายดำการใชประโยชนจากสารที่สกัดได
เชน
•
นำสีที่สกัดไดจากแกนขนุน
มายอมเสนใย
หรือผาฝายใหเปนลวดลาย
ใชตกแตงอุปกรณ
เครื่องใช
•
นำสีและกลิ่นหอมที่สกัดไดจากใบเตย
ดอกมะลิ ดอกอัญชัน ดอกกระเจี๊ยบดอกกระดังงา ใชผสมทํ
าอาหารคาว หวาน
•
นำนํ้ ามันหอมระเหยที่สกัดไดจาก ขิง ขา
ไพล พริก ใบสะระแหน มาทำยาหมอง
ยาดม
•
นำสารที่มีสรรพคุณในการรักษาโรคที่สกัดไดจากสวนตาง
ๆของพืช มาทำยาลูกกลอน หรือระเหยแหงแลวบรรจุแคปซูล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น