แผนที่ 1



แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 3        รหัสวิชา ว22101                          กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
โรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ                                                            ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2         
สาระที่ 3   หน่วยที่ 4                           เรื่อง  การแยกสาร                                                      เวลา 2.00 ชั่วโมง

………………………………….............................................................................................................................................................
มาตรฐาน ว 3.1 เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์


แนวความคิดหลัก
สารต่าง มักรวมอยู่กับสารอื่น ในรูปของสารผสมเนื้อเดียว หรือสารผสมไม่เป็นเนื้อเดียว ถ้าต้องการสารเพียงชนิดเดียวเพื่อนำมาใช้ประโยชน์อาจทำได้โดยแยกสารออกมาโดยอาศัยสมบัติเฉพาะตัวของสาร การแยกสารผสมที่ไม่เป็นเนื้อเดียวทำได้โดยใช้วิธีการทางกายภาพ เช่น  หยิบออก ร่อนด้วยตะแกรง ใช้แม่เหล็กดูด การแยกสารผสมที่เป็นเนื้อเดียวอาจแยกโดยการระเหยแห้ง การสกัดด้วยตัวทำละลายเป็นวิธีการแยกสารวิธีหนึ่งที่อาศัยหลักการเกี่ยวกับการละลายของสาร สารแต่ละชนิดจะละลายได้ในตัวทำละลายต่างกัน สารบางชนิดมีจุดเดือดต่ำระเหยกลายเป็นไอได้ง่ายและไม่ละลายน้ำ จึงใช้ไอน้ำร้อนช่วยในการแยกสารได้ สารผสมบางชนิดที่เป็นของเหลวกับของเหลว หรือของแข็งกับของเหลว ซึ่งมีจุดเดือดต่างกันมาก สามารถแยกออกจากกันได้โดยการกลั่น ส่วนสารผสมที่มีสีแต่ละชนิดจะเคลื่อนที่ไปบนตัวดูดซับได้ต่างกัน ขึ้นอยู่กับความสามารถในการละลายของสารนั้นในตัวทำละลาย หลักการนี้จึงนำมาใช้ในการแยกสารได้ สารที่แยกออกมาได้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง

 ตัวชี้วัด

                1. ทดลองและอธิบายการหลักการแยกสารด้วยวิธีการกรอง  การตกผลึก การสกัด  การกลั่น  และ
โครมาโทกราฟี
และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ (ว 3.1-3)

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. ทดลองและอธิบายเกี่ยวกับการแยกสารโดยการกลั่น กรอง ตกผลึก สกัดและ
โครมาโทกราฟี
2. อธิบายและยกตัวอย่างการนำหลักการแยกสารไปใช้ในชีวิตประจำวัน

เนื้อหา (รายละเอียดของเนื้อหาอยู่ในใบความรู้ที่ 31)
                - การแยกสาร

การจัดกระบวนการเรียนรู้
1. ขั้นนำ
1. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
2. ครูให้ผู้เรียนอภิปรายเกี่ยวกับการแยกสารที่ผสมกันที่ผู้เรียนเคยปฏิบัติหรือเคยพบเห็นในชีวิตประจำวัน

2. ขั้นสอน
                1. ครูให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น  4  - 5  กลุ่มๆ ละ 4-5  คนและทำกิจกรรม 7.1 การแยกสารผสม
กิจกรรม 7.1 การแยกสารผสม
จุดประสงค์ของกิจกรรม
1. ออกแบบวิธีการแยกสารผสมออกจากกันด้วยวิธีการอย่างง่าย และเลือกใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อช่วยในการแยกสาร
2. สรุปหลักการแยกสารที่ผสมกันโดยการกรอง ระเหยแห้ง ใช้แม่เหล็กดูด
เวลาที่ใช้    60 นาที
อภิปรายก่อนกิจกรรม                        10 นาที
ทำกิจกรรม                                           30 นาที
อภิปรายหลังกิจกรรม                         20 นาที
  
วัสดุอุปกรณ์และสารเคมี

รายการ
ปริมาณต่อ 10 กลุ่ม
1. พริกป่น
2. เกลือป่น
3. ตะปูขนาดเล็ก หรือผงตะไบเหล็ก
4. ทราย
5. ข้าวสาร + ตัวมอด + เศษอิฐ หิน ทราย + แกลบ
6. น้ำเกลือ 5%
7. น้ำหวาน 5%
8. แม่เหล็ก
9. ตะแกรงร่อน
10. กรวยกรอง
11. กระดาษกรอง
12. ถ้วยระเหย
13. บีกเกอร์ ขนาด 50 cm3
14. ตะเกียงแอลกอฮอล์พร้อมที่กั้นลม
15. แท่งแก้วคนสาร
16. ไม้หนีบหลอดทดลอง
17. สารส้ม และคอปเปอร์ซัลเฟต
10 g
10 g
50 – 60 ตัว หรือ 20 g
20 g
20 g
100 cm3
100 cm3
10 แท่ง
10 อัน
10 อัน
10 แผ่น
10 ใบ
10 ใบ
10 ชุด
10 อัน
10 อัน
20 g

2. ครูอภิปรายก่อนทำกิจกรรมที่7.1 เนื่องจากสารผสมมีหลายชนิด อาจจะแบ่งกลุ่มผู้เรียนช่วยกันทำกลุ่มละ 1 ชนิด แล้วนำผลมาอภิปรายร่วมกัน โดยก่อนทำกิจกรรมให้ผู้เรียนคิดหาวิธีการแยกสารและเสนอแนวคิด แล้วจึงลงมือปฏิบัติ
  
ตัวอย่างผลการทำกิจกรรม (อาจมีอื่น นอกเหนือจากนี้)
สารผสมตัวอย่าง
ลักษณะที่สังเกตได้
ก่อนแยก
หลังการแยก
พริกผสมเกลือ
เป็นสารผสมไม่เป็นเนื้อเดียว
มองเห็นพริกและเกลือชัดเจน
แยกออกโดยใช้ตะแกรงร่อนจะได้พริกและเกลือแยกจากกัน
ข้าวสาร + ตัวมอด + เศษ
ทราย + ข้าวเปลือก + แกลบ
เป็นสารผสมไม่เป็นเนื้อเดียว
หยิบออก ใช้ตะแกรงร่อนแยก
ออกจากกัน
ตะปู หรือผงตะไบเหล็กกับทราย
เป็นสารผสมไม่เป็นเนื้อเดียว
มองเห็นตะปูหรือผงตะไบเหล็ก
กับทรายชัดเจน
ถ้าเป็นตะปูใช้มือหยิบออก ถ้า
เป็นผงตะไบเหล็กใช้แท่งแม่
เหล็กดูดออกจากทรายได้สาร
แต่ละชนิด
น้ำเกลือ, น้ำหวาน
เป็นสารผสมเนื้อเดียว มองไม่
เห็นสารที่เป็นองค์ประกอบ
นำไประเหยให้แห้งจะเหลือ
เกลือหรือน้ำตาลทราย ได้สาร
แยกกัน
สารส้มผสมคอปเปอร์ซัลเฟต
เป็นสารเนื้อผสมไม่เป็นเนื้อเดียว มองเห็นผงสีฟ้า สีขาว
นำไปละลายให้อิ่มตัวและให้สารตกผลึก

                3. ครูให้ผู้เรียนอภิปรายผลหลังการทำกิจกรรมในกลุ่มย่อย แล้วนำผลมาอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน โดยใช้คำถามท้ายกิจกรรมเป็นแนวทางในการอภิปราย เพื่อสรุปว่าการแยกสารที่ผสมกันอยู่ให้ได้สารเพียงชนิดเดียวนั้น  อาจจะอาศัยสมบัติทางกายภาพของสาร เช่น ขนาดของสาร สมบัติความเป็นแม่เหล็ก การละลายน้ำดังกิจกรรมที่ทำมาแล้ว
  
สารผสม
สมบัติ
วิธีการแยก
ผงตะไบเหล็กปน
อยู่กับทราย

ทรายปนกับน้ำตาล
ทราย



ข้าวสาร + ตัวมอด +ข้าวเปลือก + แกลบ + เศษหิน ทราย

สารส้มผสมคอปเปอร์ซัลเฟต
ความเป็นแม่เหล็ก


การละลายน้ำ




ขนาดอนุภาคของสาร


การละลายน้ำ
ใช้แท่งแม่เหล็กดูดผงตะไบเหล็กออกจากทราย

ใช้แยกสารที่ละลายน้ำออกจากสารที่ไม่ละลาย   นำไปกรองแยกออกจากกันได้ทราย แล้วนำสารละลายไประเหยแห้ง จะได้น้ำตาลทราย

หินชิ้นใหญ่ ใช้มือหยิบ ชิ้นเล็ก ใช้ตะแกรงร่อน แยกสารออกจากกัน

สารละลายน้ำได้แล้วตั้งทิ้งไว้ตกตะกอน

ทั้งนี้ ผลของการแยกสารอาจสอดคล้องกับที่กลุ่มคิดไว้ก่อนลงมือปฏิบัติจริงหรือไม่ก็ได้
4. ครูนำอภิปรายต่อไปว่า วิธีการที่กลุ่มเลือกใช้ในการแยกสาร ควรจะแยกสารจนได้สารเพียงชนิดเดียว เพียงแต่สารผสมบางชนิดจะแยกออกได้ยาก เช่น แยกผงตะไบเหล็กออกจากทราย ต้องใช้แม่เหล็กดูดและทำซ้ำหลาย ครั้ง แต่สารผสมบางชนิดก็แยกออกจากกันได้ง่าย เช่น  ตะปูกับทราย เป็นต้นสำหรับความคุ้มค่าเมื่อเทียบกับเวลาและค่าใช้จ่ายที่เสียไปนั้น ผู้เรียนน่าจะได้แนวคิดว่า ถ้าแยกสารผสมที่มีปริมาณมาก แล้วได้สารเพียงชนิดเดียวที่มีปริมาณมากพอ ก็คุ้มค่า แต่ถ้าได้สารเพียงเล็กน้อยก็ไม่คุ้มค่า
5. ครูให้ผู้เรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการแยกสารผสมที่เป็นเนื้อเดียวในชีวิตประจำวันหรือที่พบในท้องถิ่นจะทำได้อย่างไร ซึ่งเราจะได้ศึกษาในคาบเรียนครั้งต่อไป
                6. ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนสอบถามเนื้อหา เรื่อง การแยกสาร ว่ามีส่วนไหนที่ไม่เข้าใจและให้ความรู้เพิ่มเติมในส่วนนั้น   

3. ขั้นสรุป
1. ครูมอบหมายให้นักเรียนสรุปความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเนื้อหาที่ได้เรียนในวันนี้ แล้วร่วมกันสรุปความรู้ เรื่อง การแยกสาร  ตามรายละเอียดในใบความรู้
2. นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน
3. ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาความรู้  เรื่อง การสกัดด้วยตัวทำละลาย ซึ่งจะเรียนในคาบต่อไปมาล่วงหน้า
 สื่อการเรียนการสอน
                1. แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน จำนวน 5 ข้อ
                2. ใบความรู้ที่ 31 เรื่อง การแยกสาร
                3. ใบงานที่ 30 เรื่อง การแยกสาร
                4. อุปกรณ์และสารเคมีที่ใช้ในการศึกษาทดลอง

แหล่งการเรียนรู้
                1. ห้องสมุด (ดูที่ภาคผนวก)
                2. อินเทอร์เน็ต (ดูที่ภาคผนวก)
                3. วีดิทัศน์ (ดูที่ภาคผนวก)
                4. โรงอาหาร ร้านจำหน่ายอาหาร
                5. โรงพยาบาล สถานีอนามัย ร้านขายยา
                6. โรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานผลิตสารทำความสะอาด
                7. ภูมิปัญญาท้องถิ่น

การวัดผลประเมินผล 

การวัดผลประเมินผลด้าน
วิธีการวัด
เครื่องมือวัด
เกณฑ์การผ่าน
1. ด้านความรู้ความเข้าใจ
1.วัดจากแบบทดสอบก่อน-หลังเรียน

1. แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน

1. ตอบคำถามถูกมากกว่าหรือเท่ากับ 60% ข้อขึ้น

2.วัดจากการตอบคำถามตามใบงานที่ 30
2.ใบงานที่ 30
2. ตอบคำถามถูกมากกว่าหรือ เท่ากับ 60%ขึ้นไป
2. ด้านทักษะกระบวนการ
ประเมินจากทักษะการปฏิบัติการ
แบบประเมินด้านทักษะ(การทดลอง)
ได้คะแนนในระดับ 2 ขึ้นไป
3. ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์
การสังเกตพฤติกรรมความสนใจ และตั้งใจเรียน
แบบสังเกตพฤติกรรมความสนใจและตั้งใจเรียน
ได้คะแนนในระดับ 2 ขึ้นไป

กิจกรรมเสนอแนะ
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. ใบความรู้ที่ 31
เรื่อง การแยกสาร
การแยกสารเนื้อผสม
                การกรอง นิยมใช้เมื่อต้องการแยกสารเนื้อผสม เมื่อมีอนุภาคของแข็งปนอยู่ในของเหลว โดยที่ของแข็งเหล่านั้นไม่สามารถละลายได้ในของเหลว เมื่อทำการกรองก็จะมีเฉพาะของเหลวผ่านกระดาษกรองไปได้ ส่วนอนุภาคของของแข็งจะติดอยู่ที่กระดาษกรอง เนื่องจากอนุภาคมีขนาดใหญ่กว่ารูของกระดาษกรอง เราสามารถนำวิธีการกรองไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น การกรองน้ำกะทิออกจากกาก เมื่อเราคั้นน้ำกะทิ การกรองเอาฝุ่นผงออกจากน้ำเชื่อม เป็นต้น
                ส่วนการระเหยแห้ง หรือ การต้มจนแห้ง  นิยมใช้เมื่อต้องการแยกสารเนื้อผสม เมื่อสารนั้นเป็นของผสมที่เป็นสารละลาย โดยตัวทำละลายเป็นของเหลวและตัวถูกละลายเป็นสารที่ไม่ระเหยหรือระเหยได้ยาก เมื่อถูกความร้อน เช่น สารละลายโซเดียมคลอไรด์ เมื่อนำไประเหยจนแห้งน้ำจะระเหยไปจนหมด เหลือแต่ผลึกโซเดียมคลอไรด์ ติดอยู่ที่ภาชนะ ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้ในการทำนาเกลือ แถบจังหวัดที่อยู่ติดชายทะเล


รูปที่ 1 การทำนาเกลือใช้หลักการระเหย โดยใช้ความร้อน

                อย่างไรก็ตามวิธีการนี้จะใช้ไม่ได้กับตัวถูกละลายที่เป็นสารที่ระเหยได้ง่าย เช่น แอลกอฮอล์ผสมน้ำ แอมโมเนียผสมน้ำ เพราะแอลกอฮอล์และแอมโมเนียจะระเหยไปหมดไม่มีสารใดเหลืออยู่ที่ภาชนะเลย
                การระเหิด เป็นปรากฎการณ์ที่สารเปลี่ยนสถานะจากของแข็งไปเป็นก๊าซหรือไอ โดยไม่เปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวก่อน วิธีนี้ใช้เมื่อสารเนื้อผสมนั้นมีองค์ประกอบหนึ่งเป็นสารที่ระเหิดได้ง่ายเมื่อถูกความร้อน ส่วนอีกองค์ประกอบหนึ่งเป็นสารที่ไม่ระเหิดเมื่อถูกความร้อน สารเนื้อผสมนี้มีสถานะเป็นของแข็งทั้งสององค์ประกอบ ตัวอย่างเช่น สารหมายเลข 3 ที่ใช้ในการทดลองเป็นสารเนื้อผสมระหว่างการบูรกับเกลือแกง นอกจากนี้ยังมีสารเนื้อผสมระหว่างพิมเสนกับเกลือแกง แนพทาลีน(ลูกเหม็น)กับเกลือแกง เป็นต้น เมื่อให้ความร้อนแก่สารเนื้อผสมเหล่านี้ องค์ประกอบที่ระเหิดได้ก็จะระเหิดออกไป จะคงเหลือแต่องค์ประกอบที่ไม่ระเหิดอยู่ในภาชนะที่บรรจุ ดังเช่น สารเนื้อผสมที่ใช้ในการทดลอง เมื่อได้รับความร้อน การบูรจะกลายเป็นไอ แยกออกจากเกลือแกงเข้าไปอยู่ในบีกเกอร์ เมื่อไอกระทบบีกเกอร์ที่เย็นกว่าไอน้ำจะควบแน่นกลายเป็นของแข็งที่เห็นเป็นฝ้าติดที่บีกเกอร์ จึงเหลือแต่เกลือแกงอยู่ในถ้วยกระเบื้อง
                เราจะเห็นได้ว่า การแยกสารเนื้อผสมสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การกรอง การต้ม หรือการระเหยจนแห้ง การใช้อำนาจแม่เหล็ก การระเหิด นอกจากนี้เราสามารถแยกสารเนื้อผสมได้ด้วยวิธีอื่นๆ อีก วิธีการง่ายๆ เช่น การเขี่ย การหยิบ หรือวิธีการที่ยุ่งยากซับซ้อน ได้แก่ การกลั่นและการตกผลึก ซึ่งการที่จะเลือกวิธีการใดนั้นขึ้นอยู่กับสมบัติของสารที่เป็นองค์ประกอบ ทั้งนี้เราจะพบว่าสารเนื้อผสมที่เป้นของแข็งและมีขนาดใหญ่ จะทำการแยกเนื้อสารออกจากกันได้ง่าย แต่ถ้าสารเนื้อผสมนั้นเป็นของเหลวที่ไม่สามารถรวมกันได้ เช่น น้ำกับน้ำมัน หรือน้ำกะทิ ก็อาจทำได้โดยการตั้งทิ้งไว้สักครู่หนึ่งให้องค์ประกอบของสารแยกตัวออกจากกันเป็นชั้นๆ แล้วจึงแยกแต่ละชั้นนั้นออกไป วิธีการที่เราใช้แยกสารเนื้อผสมที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนี้เรียกว่า การแยกโดยวิธีทางกายภาพ  วิธีการนี้เมื่อแยกองค์ประกอบออกจากสารเนื้อผสมแล้ว สารที่ได้จะมีสมบัติเหมือนเดิมทุกประการ


สรุปวิธีที่ใช้แยกสารออกจากกัน
               . การแยกของผสมที่เป็นของแข็ง - ของแข็งออกจากกัน  อาจจะทำได้หลายวิธีดังนี้
·       หยิบออกจากกัน
·       ใช้แม่เหล็กดูด
·       สกัดด้วยตัวทำละลาย
·       การระเหิด
·       การหลอมเหลว
·       อาศัยความหนาแน่นที่ต่างกัน

ตารางที่ สรุปวิธีที่ใช้แยกของแข็ง - ของแข็งออกจากกัน
วิธีแยก
ตัวอย่าง
1. หยิบออกจากกัน         สำหรับของผสมที่มีขนาดใหญ่มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด
ตะปูกับเศษไม้ ใยนุ่นกับเมล็ดนุ่น
2. ใช้แม่เหล็กดูด        สำหรับของผสมที่สารตัวหนึ่งมีสมบัติดูดกับแม่เหล็ก
ผงเหล็กกับผงถ่านเหล็กผสมกับกำมะถัน
3. สกัดด้วยตัวทำละลาย   สำหรับของผสมที่สารตัวหนึ่งละลายในตัวทำละลายแต่อีกตัวหนึ่งไม่ละลาย แล้วกรองแยกออกจากกัน
ใช้น้ำแยกเศษดินกับ เกลือแกง  , ใช้เฮกเซนแยกแนพธาลีนกับดินประสิว
4. การระเหิด  สำหรับของผสมที่ตัวหนึ่งระเหิดได้
ลูกเหม็นกับเกลือแกง
5. การหลอมเหลว  สำหรับของผสมที่มีจุดหลอมเหลวต่างกันมาก ๆ ตัวที่มีจุดหลอมเหลวต่ำจะแยกออกมาก่อน
ตะกั่วกับเหล็ก  โดยตะกั่วจะแยกออกมาก่อน
6. อาศัยความหนาแน่นที่ต่างกัน  สำหรับของผสมที่มีความหนาแน่นต่างกันมาก  ใช้ตัวทำละลายที่มีความหนาแน่นอยู่ระหว่างของผสมทั้ง 2   ตัวที่มีความหนาแน่นน้อยจะลอย และที่มีความหนาแน่นมากจะจม  แยกออกจากกันได้
ใช้น้ำแยกเศษเหล็กกับเศษไม้

                การแยกของผสมที่เกิดจากของแข็งและของเหลวผสมกัน  อาจจะทำได้ดังนี้
·     การกรอง
·     การตกตะกอน
·     การกลั่น
·     การระเหย
  
ตารางที่ สรุปวิธีที่ใช้แยกของแข็ง - ของเหลว
วิธีแยก
ตัวอย่าง
1. การตกตะกอน  ทิ้งให้ของแข็งนอนก้นหรือใช้เครื่องเหวี่ยง (Centrifuge) ทำให้ตะกอนนอนก้นแล้วกรองของแข็งออก
AgCl กับน้ำ
2. การกลั่น  ทำให้ของเหลวกลั่นตัวแยกออกมา
NaCl กับน้ำ
3. การระเหย  หรือการเผา  ทำให้ตัวทำละลายระเหยไป
น้ำตาลกับน้ำ, เกลือกับน้ำ
4. การตกผลึก โดยทำให้สารละลายอิ่มตัวที่อุณหภูมิสูง
จุนสีกับน้ำ

                . การแยกของผสมที่เกิดจากของเหลวกับของเหลวผสมกัน   ทำได้หลายวิธี  เช่น
·     ใช้กรวยแยก
·     สกัดด้วยตัวทำละลาย
·     การกลั่นแบบต่างๆ
·     โครมาโทกราฟี

ตารางที่ 3 สรุปวิธีที่ใช้แยกของเหลว - ของเหลว
วิธีแยก
ตัวอย่าง
1.  ใช้กรวยแยก  สำหรับของเหลวที่ไม่รวมเป็นเนื้อเดียวกัน และแยกเป็น ชั้นอย่างชัดเจน
น้ำกับน้ำมัน
2. สกัดด้วยตัวทำละลาย  สำหรับของเหลวที่ตัวหนึ่งละลายได้ในตัวทำละลาย แต่อีกตัวหนึ่งไม่ละลาย
ใช้น้ำละลายเอาเอธานอลออก
จากเบนซิน
3. การกลั่น  สำหรับของเหลวที่รวมเป็นเนื้อเดียวกัน และมีจุดเดือดต่างกัน
น้ำกับเอธานอล
4. โครมาโทกราฟี  สำหรับสารที่มีความสามารถในการละลายในตัวทำละลาย (Mobile  phase)และถูกดูดซับบนตัวดูดซับ(Stationary  phases) ได้แตกต่างกัน
น้ำหมึก
                . การแยกของผสมที่เกิดจากก๊าซกับก๊าซผสมกัน  ทำได้หลายวิธี  เช่น
·     การควบแน่น
·     Liquefaction
·     วิธีเคมี
·     การแพร่


ตารางที่ 4 สรุปวิธีที่ใช้แยกก๊าซ - ก๊าซ
วิธีแยก
ตัวอย่าง
1.  การควบแน่น  สำหรับก๊าซผสมที่มีจุดควบแน่นต่างกัน
ไอน้ำกับ O2
2.  Liquefaction  สำหรับก๊าซผสมที่มีจุดเดือดต่ำมาก ๆ โดยนำก๊าซผสมมาทำให้เย็นจัดจนทุกตัวกลายเป็นของเหลว  แล้วจึงนำไปกลั่นโดยค่อย ๆ เพิ่มอุณหภูมิ ก๊าซที่มีจุดเดือดต่ำจะกลายเป็นไอแยกออกมาก่อน
Oกับ  N2
3. วิธีการเคมี  สำหรับก๊าซผสมที่ตัวหนึ่งทำปฏิกิริยากับสารเคมี แต่อีกตัวหนึ่งไม่ทำ
แยก CO2 จาก  O2  โดยผ่าน KOH ลงไปในของผสม ซึ่ง CO2 จะถูกดูดไป
4. การแพร่  สำหรับก๊าซที่มวลโมเลกุลต่างกันมาก ๆ ก๊าซที่เบากว่าจะแพร่ออกมาก่อน
แยก H2 จากก๊าซ  SO2 โดย H2 จะแยกออกมาก่อน

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตัวอย่าง  จงเสนอวิธีแยกสารต่อไปนี้
                . แนพทาลีนกับเกลือแกง
                . ผงเหล็กกับผงคาร์บอน
                . ผงเหล็กกับผงกำมะถัน
                . น้ำเชื่อม
                . เทียนไขกับน้ำตาล
                . AgCl  กับ NaCl
                น้ำมันหอมระเหยจากดอกมะลิ
                . สารที่มีสีต่างๆ ในมะเขือเทศ
                . ข้าวเปลือกกับข้าวสาร
                . CO2 กับ H2








วิธีทำ   กแยกแนพทาลีนกับเกลือแกงออกจากกันได้  วิธี  คือ
1. ระเหิด  แนพทาลีนจะระเหิดแยกออกมา โดย NaCl ไม่ระเหิด
2. สกัดด้วยตัวทำละลาย  ใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย น้ำจะละลาย NaCl แต่ไม่ละลายแนพทาลีน ทำให้แยกออกมาได้  เมื่อนำไปตกผลึกจะได้ NaCl
                แยกผงเหล็กกับผงคาร์บอน ออกจากกันได้  วิธี  คือ
1. ใช้แม่เหล็กดูด ผงเหล็กจะถูกดุดแยกออกไป
2. ใช้ความหนาแน่นที่ต่างกัน  โดยนำไปใส่ในน้ำ ผงเหล็กมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำจะจมน้ำ  แต่ผงถ่านมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ  จึงลอยน้ำ  ทำให้แยกออกจากกันได้
                แยกผงเหล็กกับผงกำมะถัน ออกจากกัน   วิธี คือ
1. ใช้แม่เหล็กดูด ผงเหล็กจะถูกดุดแยกออกไป
2. สกัดด้วยตัวทำละลาย  ใช้ CS2  ซึ่งละลายกำมะถัน แต่ไม่ละลายเหล็ก หลังจากนั้นจึงนำมาไล่ CS2  ออกจะได้ผลึกกำมะถัน
                แยกน้ำเชื่อม  โดยการเคี่ยวให้ตัวทำละลายคือ น้ำ ระเหยออกไปจนเหลือแต่น้ำตาลที่เป็นของแข็ง
                . แยกเทียนไขกับน้ำตาลออกจากกัน  วิธี คือ
1. ละลายน้ำ น้ำจะละลายน้ำตาลแยกออกมา
2. ละลายในตัวทำละลายอินทรีย์  เช่น เฮกเซน  เฮกเซนจะแยกเทียนไขออกมา
                . แยก AgCl  กับ NaCl  ออกจากกันโดยละลายในน้ำ  NaCl  จะละลายน้ำ แต่ AgCl  ไม่ละลาย
                . แยกน้ำมันหอมระเหยออกจากดอกมะลิ ด้วยการสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ
                . แยกสารที่มีสีในมะเขือเทศ  โดยการใช้วิธีโครมาโทกราฟี
                . แยกข้าวเปลือกกับข้าวสาร  โดยการใช้มือหยิบเลือกออกจากกัน
                . แยก CO2 กับ H2  โดยผ่านก๊าซผสมเข้าไปในสารละลาย  KOH ซึ่ง KOH  จะทำปฏิกิริยากับ CO2 ได้  K2CO3 ซึ่งสามารถแยกออกมาเผาได้ CO2 ตามเดิม

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------





แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน
เรื่อง การแยกสาร

คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.สมศรีนำใบเตยมาขยำน้ำสะอาด เพื่อจะนำสีเขียวของใบเตยไปทำขนมเปียกปูน การแยกสีใบเตยต้องแยกด้วยวิธีการตามข้อใด
                .การกลั่น            .การกรอง                           .การระเหย         .การทำให้ตกตะกอน
2.การแยกสารเนื้อผสมที่สามารถแยกได้โดยใช้อำนาจแม่เหล็กคือข้อใด
                .สารนั้นต้องมีองค์ประกอบที่มีสีดำ                              .สารนั้นต้องมีสถานะเป็นของแข็งเท่านั้น
                .สารนั้นต้องมีองค์ประกอบที่มีน้ำหนักมาก               .สารนั้นต้องมีองค์ประกอบของสารแม่เหล็ก
3.การระเหิดของสารจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีข้อใด
                .สารได้รับความเย็นมากๆ ทันทีทันใด
                .ความร้อนกระทบสารนั้นเป็นเวลานานๆ
                .การตกผลึกของสารแล้วเปลี่ยนสถานะกลายเป็นไอทันที

                .สารที่เปลี่ยนสถานะกลายเป็นไอแล้วได้รับความเย็นอย่างทันทีทันใด
4.การแยกสารเนื้อผสมออกจากต้องคำนึงถึงปัจจัยใดเป็นสำคัญ
                .ความประหยัด      .ความสะดวก               .ความปลอดภัย                  .ความเป็นไปได้
5. การนำตะแกรงเหล็กไปกั้นทางน้ำทิ้งจากบ้านเรือนที่อยู่อาศัยเพื่อแยกขยะออกจากน้ำเรียกว่า
                .การกรอง           .การระเหิด             .การตกผลึก                ง.การทำให้ตกตะกอน

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เฉลยแบบทดสอบก่อน-หลังเรียน  เรื่อง การแยกสาร
                                1.  ข                       2.  ง                       3. ข                        4.  ก                       5.  ก                      
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------





ใบงานที่ 30
เรื่อง การแยกสาร
จงตอบคำถามหรือเติมช่องว่างด้วยคำหรือข้อความสั้นๆ
1.วิธีการที่ใช้ในการระบุว่าสารใดเป็นสารเนื้อเดียว คือ
คำตอบ…………………………………………………………………………………………
2.น้ำแข็งแก้วหนึ่งมีทั้งส่วนที่ทุบละเอียด และเป็นก้อน จัดเป็นสารประเภทใด
คำตอบ…………………………………………………………………………………………
3.สารเนื้อผสมคือ
คำตอบ…………………………………………………………………………………………
4.การแยกสารเนื้อผสมทำได้ด้วยวิธีการใดบ้าง
คำตอบ…………………………………………………………………………………………
5.วิธีการใช้แยกสารเนื้อผสมพิจารณาจากอะไร
คำตอบ…………………………………………………………………………………………
6.การนำตะแกรงเหล็กไปกั้นทางน้ำทิ้งจากบ้านเรือนที่อยู่อาศัยเพื่อแยกขยะออกจากน้ำเรียกว่า
คำตอบ…………………………………………………………………………………………
7.การระเหิด  คือ
คำตอบ…………………………………………………………………………………………
8.การแยกสารเนื้อผสม โดยการต้มจนแห้งไม่สามารถใช้ได้กับสารประเภทใด
คำตอบ…………………………………………………………………………………………
9.ในชีวิตประจำวันสารที่ระเหิดได้ เช่น
คำตอบ…………………………………………………………………………………………
10.การแยกสารเนื้อผสมด้วยวิธีการทางกายภาพมีประโยชน์ คือ
คำตอบ……………………………………………………………………………….…………



-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
  
เฉลยใบงานที่ 30
เรื่อง การแยกสาร

                1. การสังเกตด้วยตา
                2. สารเนื้อเดียว
                3. สารเนื้อผสมคือ สารที่มีส่วนผสมมากกว่าหนึ่งอย่าง และมองเห็นเนื้อสารเป็นส่วนๆ
                4. การเขี่ยหรือหยิบออก การใช้อำนาจแม่เหล็ก การระเหิด การกรอง และการทำให้ตกตะกอน
                5. สมบัติของสารเนื้อผสมนั้นๆ
                6.  การกรอง
                7. การระเหิด  คือการเปลี่ยนสถานะของสารขากของแข็งกลายเป็นก๊าซโดยไม่ต้องกลายเป็นของเหลวก่อน
                8. สารที่รับความร้อนแล้วระเหิดไป หรือเปลี่ยนสภาพคือไหม้ไฟจนหมด หรือหลอมละลายไป เปลี่ยนเป็นสารใหม่
                9. การบูร  ลูกเหม็น พิมเสน และเมนทอล
                10. ประหยัด ทำได้ง่าย และได้สารเดิม



           

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น